topbella

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดอนาลโยทิพยาราม


ชมวัดอนาลโยทิพยาราม วัดงามเมืองพะเยาบนดอยบุษราคัม

                                                
เมื่อนึกถึงจังหวัดพะเยาผมคิดว่าหลายคนคงไม่ค่อยได้มาเที่ยวที่จังหวัดพะเยาซะเท่าไหร่ ส่วนมากจะเป็นทางผ่านไปเชียงรายซะมากกว่า พะเยาเป็นจังหวัดเงียบๆที่น่าอยู่ น่าไปเที่ยวอีกจังหวัดนึงเลย พูดแบบนี้คงพอจะเดาได้แล้วใช่ไหมครับว่าวันนี้ผมจะพาไปเที่ยวที่ไหน จะพาไปเที่ยว วัดอนาลโยทิพยาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดอนาลโย
                                               
วัดอนาลโยเป็นวัดที่อยู่บน ดอยบุษราคัม จังหวัดพะเยา การเดินทางก็สามารถขับรถเก๋งหรือมอเตอร์ไซด์ไปได้ครับ ถนนดี ทางขึ้นไม่ชัน ผมเองก็ไปด้วยเจ้า Vios วิ่งจากเชียงรายลงมา แต่จำทางไม่ค่อยได้เนื่องจากน้าคอยบอกทางให้
เมื่อถึงวัดจะมีลานให้จอดรถ จอดเสร็จมีเด็กหนุ่มมาเก็บเงินค่าจอดรถ 20 บาท ดูแล้วก็งงๆ จะว่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ใช่ ดูยังเด็กอยู่ แต่ถ้าเงินค่าจอดรถเป็นรายได้เข้าวัดผมก็ยินดีครับ แต่ถ้าจะเข้ากระเป๋าใครคนใดคนหนึ่งก็เสียดายเงิน ก็ว่าไปเรื่อยละครับถึงบ่นก็จ่าย
            
มาถึงทางขึ้นวัดกันจะเป็นบันไดยาวหลายขั้นเลย ถ้าให้เปรียบเทียบกับวัดพระธาตุดอยสุเทพผมว่าวัดอนาลโยหลายขั้นมากกว่า จริงๆแล้วมีทางขึ้นสำหรับรถยนต์ด้วย แต่ค่อนข้างชัน ถ้ามีคนสูงอายุมาด้วยก็นั่งรถสองแถวขึ้นมาข้างบนวัด
พอเดินขึ้นบันไดมาเรื่อยๆจะเห็นวิวด้านล่างสวย ลองสังเกตุดูรูปปั้น พระพุทธรูปที่นี่จะเป็นแนวศิลปะสุโขทัยดูแล้วคล้ายๆวัดเก่า แต่จากการศึกษาประวัติของวัด วัดเริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี 2525 ก็มีอายุ 27 ปีได้
 
เมื่อขึ้นถึงตัววัดก็เหนื่อยใช้ได้เลย เห็นเค้ามุงอะไรกันเลยเข้ามาดูซักหน่อย วงที่เห็นในรูปจะแบ่งเป็นปีเกิด เค้าบอกว่าให้อธิษฐานแล้วเอาเหรียญมาตั้งในปีที่ตัวเองเกิด ถ้าตั้งได้จะมีความเชื่อว่าคำอธิษฐานนั้นจะเป็นจริง แนะนำว่าเหรียญใหญ่ตั้งง่ายกว่าเหรียญเล็ก
เล่าถึงประวัติของวัดอนาลโยไว้ประดับความรู้ซักเล็กน้อย
วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่ที่ ม.สันป่าบง ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา มีพื้นที่ทั้งหมด 2500 ไร่ ได้เริ่มก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่านอยู่วัดรัตนวนาราม ท่านเห็นแสงของทรายทองอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งเป็นดอยบุษราคัมนั่นเอง หลังจากนั้นก็ได้สร้างเป็นที่พักปฏิบัติธรรม และสร้างสิ่งต่างเพิ่มขึ้นมา
แต่ต่อมาก็มีปัญหาสำคัญคือการขาดแคลนน้ำ ต่อมาท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ได้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระบรมมหาราชวัง ในหลวงท่านได้ให้กรมชลประทานเข้าช่วยเหลือ กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อมและอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้าง เผื่อไว้ใช้ในสำนักสงฆ์และให้ชาวบ้านในระแวกนั้นได้ใช้ ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด
ในวันที่ 20 มกราคม 2530 กระทรวงศึกษาธิดารและมหาเถรสมาคมได้อนาญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์
เมื่อขึ้นมาถึงวัดแล้วไม่จบแค่นั้นนะครับวัดมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ผมจะพาไปชมภายในวัด
                                         
                                                                     รูปปั้นน้ำพุเล็กๆ
                                                 
                                                               พระพุทธรูปปางนาคปรก
                                                 
                                                              พระพุทธรูปขนาดใหญ่
                                           
                                            
                                                                  เข้าไปข้างในศาลากัน
                                            
เมื่อมองออกมาจากระเบียงศาลาข้างบนจะเห็นวิวสวยๆแบบนี้ ที่เห็นลิบๆสุดสายตานั่นคือ กว๊านพะเยาครับ เสียดายช่วงนี้แล้งไปหน่อยเลยไม่เห็นนาเป็นสีเขียว ตรงนี้วิวสวยและลมเย็นมากเลย เดินมาเหนื่อยๆอย่าลืมมารับลม ชมวิวตรงนี้
                                                   ออกจากศาลาไปเข้าชมหอพระแก้วมรกตจำลอง
                                            
                                                     พระแก้วมรกตจำลองในกระจกทำด้วยทองคำ
                        
หลังจากเราเดินจนทั่วทั่งวัด ได้เห็นถึงความสวยงามของวัดและวิวเมืองพะเยา วันนี้ต้องเปลี่ยนความคิด จังหวัดพะเยาก็มีของดีอยู่หลายอย่าง ไม่ใช่แต่ทางผ่านไปเที่ยวเชียงรายอีกต่อไปแล้ว ทริปหน้าถ้าเป็นไปได้ผมตั้งใจว่าอยากไปภูลังกาที่พะเยาจัง ชักหลงรักพะเยาแล้ว 
การเดินทางทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
  • ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 มุ่งหน้าไปทางแม่สาย-เชียงราย เลยจากตัวเมืองพะเยา(กว๊านพะเยา)ไปประมาณ 20 เมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1127-1193 อีก 9 กิโลเมตร
ที่มา : http://www.folktravel.com/archive/wat-ananlayo-09.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น