topbella

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กระชาย

กระชาย


การปลูกกระชาย พืชสมุนไพร
จาก การขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมของไทยเมื่อปี 2548 ที่ทำรายได้ถึงสี่หมื่นล้านบาท ทำให้ไทยนั้นมียุทธศาสตร์พัฒนาสมุนไพร เพื่อให้ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เลือกประโยชน์สมุนไพรตามที่ตลาดต้องการ นั่นคือช่วยชะลอความชรา บำรุงกำลังและช่วยลดความอ้วน ซึ่งกระชายก็มีคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมด

ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักสมุนไพรที่เรียกว่าโสม หรือว่า ginger ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสมุนไพรของจีนหรือของเกาหลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก คุณสมบัติด้านสมุนไพรที่เด่นของโสมคือว่าเชื่อว่าเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ผู้บริโภคได้ดังที่ชาวไทยจะเรียกทีมนักกีฬาเกาหลีว่าทีมพลังโสมเป็นต้น กระชายมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระชายเหลืองกับกระชายดำ เป็นหลัก ซึ่งกระชายดำกำลังเป็นที่นิยม จนกระทั่งกระชายเหลืองรู้สึกว่าจะถูกลดลงไป แต่เขาบอกว่ากระชายเหลืองมีคุณสมบัติทางสมุนไพรดีกว่ากระชายดำ คือไม่ได้ขึ้นอยู่กับสี บางทีคนเราคิดว่าถ้าสีเข้มน่าจะมีประโยชน์ น่าสนใจ
มากกว่า


กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือสีขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง

จะ ทำสวนกระชายต้องเริ่มต้นอย่างไร เกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้น การปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ถ้าเป็นสวนผลไม้เก่าจะดีมาก โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยจะดีมาก ในการเตรียมดินจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการ ปลูกพืชอื่น เพียงแต่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ออกบ้างให้มีพื้นที่ว่างปลูกกระชายได้

กระชาย มี
3 ชนิด คือ
1.กระชายเหลืองหรือกระชาย ขาว
2.กระชายแดง
3.กระชายดำ

ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม

ประโยชน์ของกระชาย
เหง้า กระชายรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยนำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สด หนัก 5- 10 กรัม แห้งหนัก 3 - 5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน คุณค่าด้านอาหาร กระชายมีรสเผ็ดร้อน ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี ปรุงเป็นอาหารหลายชนิด เช่น น้ำยาใส่ขนมจีน แกงปลาป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ปลาร้าหลน กะปิคั่ว แกงขี้เหล็ก เหง้ากระชายมีสารอาหารสำคัญ คือแคลเซี่ยม และวิตามินเอ ส่วนแป้ง ไขมัน และวิตามินมีจำนวนน้อย รับประทานอาหารที่มีกระชายอยู่ด้วยจะช่วยขับลม เจริญอาหารได้ดี
ขั้นตอนการปลูกกระชาย
1.ไถพรวน หรือขุดดินเพื่อกำจัดวัชพืชและปรับปรุงโครงสร้างดิน
2.นำ ขี้เถ้าแกลบผสมกับแกลบ  อัตราส่วน  1:1  หว่านให้ทั่วแปลงปลูก  พื้นที่ 1  ไร่  ใช้ขี้เถ้า  100 กระสอบ  แกลบ  100  กระสอบ  พรวนให้เข้ากัน
3.นำหัวพันธุ์กระชายปลูกในแปลงปลูกให้เป็นแถว
4.ใช้เศษฟางหญ้า  หรือทางมะพร้าวแห้ง  ปิดคลุมไว้
5.ประมาณ  1-2  เดือน  หว่านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก  ให้ทั่วแปลง
6.การเก็บเกี่ยวผลผลิต  8-12  เดือน  หรือปล่อยให้ต้นกระชายฟักตัว


การปลูกลงแปลง
ต้องเตรี ยมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5 - 7 วัน เพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2 -3 หัว(แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม

การปลูกการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย- คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
- แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนัก 15-50 กรัม
- แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง มาลาไธออน หรือคลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อราก่อนปลูก

การเตรียมหัวพันธุ์กระชาย
การปลูกใช้ท่อนพันธุ์มี 2 ลักษณะคือหัวแม่และแง่ง
- การปลูกโดยหัวแม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว
- การปลูกด้วย แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง / ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม ยาว 8-12 ซม.
ก่อน ปลูกกระชาย หัวพันธุ์ควรแช่ด้วยยาป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าเพลี้ยโดยแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีการปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก. / ไร่ และวางท่อนพันธุ์ กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30-70 วัน หลังปลูก

การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมากๆ)  การเตรียมดิน
ควร ไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25 - 30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน วิธีการปลูกก็โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5 - 10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160 - 200 กก.

การดูแลรักษา
เมื่อ ต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก
วิธีการเก็บเกี่ยว
เมื่อ กระชายดำอายุได้ 10 -12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650 - 900 กก./ไร่

1.ใช้วิธีขุด  การใช้ขี้เถ้าและแกลบผสมจะทำให้ขุดง่าย  ดินร่วนซุยหัวกระชายโต  อวบอ้วน  ขาว  เป็นที่ต้องการของตลาด
2.การใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับแกลบ  เป็นการปรับโครงสร้างดินเหนียวที่ดีวิธีหนึ่ง
3.เป็นการประหยัด  และทำง่ายต่อเกษตรกร

ผลผลิต
โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กก. สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กก. ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กก.
การเก็บรักษาพันธุ์
กระชาย ดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11 - 12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1 - 3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้

การแปรรูป
ใน ปัจจุบันนอกจากใช้กระชายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิด ความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทำ ไวน์กระชายดำ

ที่มา : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น