topbella

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ขมิ้นชัน

สรรพคุณทางยาของขมิ้นชัน

 
ขมิ้นชัน


          สรรพคุณทางยาของขมิ้นชันกัน ส่วนที่ใช้ก็คือ "เหง้า" ที่มีรสฝาดนั่นเอง โดยเหง้ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ ช่วยบำรุงตับ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และเกลือแร่ต่าง ๆ

          ส่วนน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน ก็มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียดได้ด้วย จึงนิยมนำขมิ้นมาใช้สมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร

          การ ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมยังพบว่า ขมิ้นมีสรรพคุณบำรุงร่างกายอีกหลายอย่าง ทั้งช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยขับน้ำนมสตรีหลังคลอดบุตร

          อ๊ะ แต่ไม่ใช่ว่า ปลูกขมิ้นแล้วจะขุดเหง้าขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีเลยนะ เพราะเหง้าที่จะนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น ต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไปด้วย ไม่เช่นนั้นน้ำมันหอมระเหยจะหายหมด ที่สำคัญต้องเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสงแดดด้วยเช่นกัน และห้ามเก็บเกี่ยวในระยะที่ขมิ้นชันเริ่มแตกหน่อ เพราะจะทำให้สารเคอร์คิวมินในขมิ้นชันลดลง ซึ่งก็ทำให้สรรพคุณเด็ด ๆ ของขมิ้นชันหายไปด้วย

วิธีนำขมิ้นชันไปใช้รักษาโรค

          หากจะนำขมิ้นชันไปรับประทาน ให้ นำขมิ้นชันไปล้างน้ำให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก แล้วหั่นเป็นแว่นชิ้นบาง ๆ นำไปตากแดดจัด ๆ 1-2 วัน แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ ขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย นำมารับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน จะช่วยแก้อาการดังกล่าวได้ แต่หากใครรับประทานแล้วท้องเสีย หรือมีอาการจุกเสียดแน่นท้องให้หยุดยาทันที

          นอกจากนี้ ยังสามารถนำเหง้าแก่สด ยาวประมาณ 2 นิ้ว มาขูดเปลือกออก นำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด เติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำมารับประทาน ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง

          สำหรับ คนที่ซื้อขมิ้นชันแบบผงมารับประทานเอง ให้ใช้สูตรคือ ขมิ้นชันผง 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 แก้ว (ไม่เต็ม) แล้วรับประทาน ขมิ้นชันที่ไหลผ่านอวัยวะภายในต่าง ๆ สามารถบำรุงอวัยวะส่วนนั้นได้ด้วย คือ ผ่านลำคอ จะช่วยขับไล่ไรฝุ่นที่ลำคอ, ผ่านปอดจะช่วยดูแลปอดให้หายใจได้ดีขึ้น, ผ่านม้ามจะช่วยลดไขมัน ไม่ให้น้ำเหลืองเสีย, ผ่านกระเพาะอาหารจะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร, ผ่านลำไส้จะช่วยสมานแผลในลำไส้ และผ่านตับก็จะช่วยบำรุงตับ ล้างไขมันในตับ

          การใช้ขมิ้นชันเป็นยาทาภายนอก เพื่อ รักษาอาการแพ้ แก้อักเสบ ผื่นแดง แมลงสัตว์กัดต่อย ให้นำเหง้าขมิ้นยาวประมาณ 2 นิ้ว มาฝนกับน้ำต้มสุก แล้วทาในบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือจะใช้ผง
ขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยก็ช่วยได้ เช่นกัน  ขมิ้นชัน

   ขมิ้นชัน

          อย่าง ไรก็ตาม เคยมีการศึกษาพบว่า หากรับประทานขมิ้นชันตามเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ เปิดการทำงาน จะเกิดประสิทธิผลมากขึ้น เราก็เลยขอนำวิธีการรับประทานขมิ้นชันให้ได้ผลดีมาฝากกัน โดยควรรับประทานขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้

          เวลา 03.00-05.00 น. เป็น เวลาของปอด การรับประทานขมิ้นชันในช่วงเวลานี้จะช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ทำให้ปอดแข็งแรง และช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

          เวลา 05.00-07.00 น. เป็นเวลาของลำไส้ใหญ่ จะช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ซึ่งถ้าหากคุณเคยรับประทานยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้รับประทานขมิ้นชันเวลานี้ เพราะขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องรับประทานเป็นประจำจึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อช่วยให้ขับถ่าย ได้เป็นปกติ

          นอกจากนี้ขมิ้นชันยังช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก และปัญหาลำไส้ใหญ่ขับถ่ายน้อยหรือมากจนเกินไปได้เช่นกัน แต่ถ้าหากลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้รับประทานขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิร์ต นมสด น้ำผึ้ง มะนาวหรือน้ำอุ่นก็ได้ เพื่อช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็ก ๆ จำนวนกว่าล้านเส้น ซึ่งขมิ้นชันจะช่วยล้างบริเวณขนนี้ให้สะอาดโดยไม่ให้มีขยะตกค้างอยู่ที่ขน และเมื่อขนสะอาดจะทำให้ไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว ป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวารและโรคมะเร็งลำไส้ได้เช่นกัน

          เวลา 07.00-09.00 น. เป็น เวลาของกระเพาะอาหาร จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารที่เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา และยังลดอาการท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมองและป้องกันความจำเสื่อมได้

          เวลา 09.00-11.00 น. เป็น เวลาของม้าม ขมิ้นชันจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป และผอมเกินไปซึ่งเกี่ยวข้องกับม้าม นอกจากนี้ยังลดอาการของโรคเกาต์ ลดอาการเบาหวาน

          เวลา 11.00-13.00 น. เป็น เวลาของหัวใจ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หากทานขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง แต่ถ้าหากรับประทานขมิ้นชันเลยเวลา 11.00 น. ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับแล้วตับจะส่งมาที่ปอด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง (แต่ส่วนมากมักไปไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง) จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง

          เวลา 15.00-17.00 น. เป็นเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ขมิ้นชันจะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรรับประทานน้ำกระชายเวลานี้ จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงื่อออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

          นอก จากนี้ หากรับประทานขมิ้นชันเลยจากช่วงเวลานี้ไปจนถึงเวลานอน จะช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และเมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็จะไม่ค่อยอ่อนเพลีย ช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นด้วย
ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน กับการบำรุงผิวพรรณ

          รู้จักสรรพคุณทางยากันไปแล้ว คราวนี้ขอเอาใจคุณผู้หญิงที่รักสวยรักงามกันบ้าง เชื่อว่า สาว ๆ ต้องเคยเห็นคนนำขมิ้นมาทาใบหน้า หรือตามผิวหนังหลังอาบน้ำแน่  ๆ เลย ซึ่งนั่นเป็นวิธีการบำรุงผิวอย่างหนึ่งค่ะ เพราะขมิ้นจะช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวลผ่องใสขึ้น แถมยังมีสรรพคุณป้องกันการงอกของขน ทำให้ผิวพรรณดูเกลี้ยงเกลาละเอียดเชียวล่ะ

          สูตรพอกผิวด้วยขมิ้น

          ให้นำขมิ้นสดเล็กน้อยมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2-3 เม็ด ผสมกับน้ำมะนาว 1 ผล ปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำมาพอกหน้าที่ล้างสะอาดแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 15-20 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทันที่ที่ใช้จะรู้สึกได้เลยว่า ใบหน้าเต่งตึงขึ้น และถ้าใครทำเป็นประจำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง รับรองว่า ผิวหน้าจะสดใส ดูดีขึ้นแน่นอน

          และนี่ก็คือสรรพคุณเด็ด ๆ ของขมิ้นชัน ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิด ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากเลยทีเดียว

ที่มา http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://img.kapook.com/u/patcharin/Herb/kamin_Turmeric.jpg&imgrefurl=http://health.kapook.com/view42014.html&h=268&w=500&sz=22&tbnid=i9CHk2ohv9_YvM:&tbnh=72&tbnw=134&zoom=1&usg=__bSVt-TOzLs6sAZC4SLZyZLwjQog=&hl=th&sa=X&ei=HmkWUbHMEY6srAf7lID4Cg&ved=0CCAQ9QEwAQ


 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น